Home | Back
Docker ระบบ OS-Level Virtualization บนระบบ Linux
Wednesday, 3 September 2014
ในการใช้งานระบบ Virtualization นั้นจะมีหลายเทคโนโลยีให้เลือกใช้ เช่น VMWare Xen KVM OpenVZ เป็นต้น ซึ่งระบบ Vitualization ที่ผมเคยแนะนำไปส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Full Virtualization คือการจำลองทั้งระบบคอมพิวเตอร์ แต่มีระบบ Virtualization แบบที่น่าสนใจอยู่แบบนึงคือ OS-Level Virtualization ซึ่งเป็นการจำลองเครื่องโดยจำลองแค่บางส่วน แต่ในส่วนของ Kernel จะใช้ร่วมกับ Host นั่นเอง ซึ่งระบบนี้จะมี overhead ต่ำมาก กินทรัพยากรน้อย แต่ข้อเสียคือจะใช้ได้แต่กับระบบปฏิบัติการเดียวกับ Host เท่านั้น เช่น Host เป็น Linux ทำให้สร้าง Guest ได้ที่เป็น Linux เท่านั้นแต่อาจจะมี Distro ต่างกันไปได้ครับ โดยเทคโนโลยีที่ผมจะแนะนำครั้งนี้คือ Docker ครับ และจะทดลองบน Arch Linux ครับ
1. ลง package ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นแรกเราก็ต้องลง package ที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ
2. start ระบบ daemon ของ docker
ขั้นตอนต่อมาก่อนใช้งานเราก็ต้องทำการ start ระบบ daemon ของ docker ให้ทำงานก่อนใช้งานดังนี้ครับ
ถ้าหากต้องการให้ docker daemon ทำงานทุกครั้งเริ่มระบบให้ทำดังนี้ครับ
3. ดึง Image ของ OS ที่เราต้องการ
การจะใช้งาน docker ได้ เราต้องมี Image ของ OS ที่เราต้องการก่อน โดยหากต้องการดึง Image OS ของ Archlinux ทำได้ดังนี้ครับ
หากต้องการใช้ Ubuntu ก็สามารถดึงได้ดังนี้ครับ
หากเราต้องการตรวจสอบว่าใน Host ของเรามี Image อะไรให้ใช้ได้บ้างสามารถทำได้ดังนี้ครับ
4. สร้าง Container เพื่อใช้งาน
เมื่อเรามี Image ของ OS ที่เราต้องการแล้ว เราจะสามารถสร้างระบบจำลองได้ โดยระบบจำลองที่สร้างจาก Image นั้น เราจะเรียกว่า Container ครับ โดยเราจะทำการทดลองสร้าง Container แบบ interactive กันดูดังนี้ครับ
จะเห็นว่าจะเข้าสู่ prompt เพื่อรับคำสั่ง ซึ่งขณะนี้เป็นการรับคำสั่งจาก Container ที่เราสร้างมานั่นเอง และจะมีพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องคือ
run เป็นคำสั่งของ docker เพื่อทำการสร้าง Container
-i หมายถึงทำงานแบบ interactive
-t หมายถึงให้สร้าง psudo terminal ขึ้นมารับคำสั่งซึ่งมักจะใช้คู่กับ -i ครับ
–name test หมายถึงตั้งชื่อ Container ของเราว่า test ครับ
–hostname หมายถึงตั้งชื่อ hostname ของเราว่า test ครับ
–p 2222:22 คือการ map port ของ Host หมายเลข 2222 ให้เข้าไปยัง port 22 ของ Guest ครับ
base/archlinux:latest หมายถึงชื่อของ image ที่เราใช้
และสุดท้าย /bin/bash คือคำสั่งที่เรียกใช้งานคือ bash shell นั่นเองครับ
ในขั้นนี้เราสามารถลง package ต่าง ๆ ที่เราต้องการลงใน Container ได้ตามปกติครับ เช่น อยากลงเวบ server หรือแอปต่าง ๆ เป็นต้นครับ และเมื่อเราพิมพ์ exit ก็จะออกจาก Container และจบการทำงานของ Container ครับ และเมื่อเรากลับสู่ Host เราสามารถดู รายการ Container ที่เราสร้างไว้ได้ดังนี้ครับ
พารามิเตอร์ -a หมายถึงให้แสดง Container ทุกตัว รวมทั้งตัวที่หยุดทำงานแล้ว โดยปกติคำสั่ง docker ps จะแสดงเฉพาะ Container ที่กำลังทำงานอยู่เท่านั้น เมื่อ Container เราหยุดทำงานแลัว เราสามารถทำการ start ให้ Container เราทำงานอีกครั้งได้ดังนี้ครับ
ตอนนี้เราสามารถดูว่า Container เราทำงานอยู่รึป่าวดังนี้
ในขณะนี้ Container ที่ชื่อ test กำลังทำงานอยู่ แต่ไม่ได้อยู่ในโหมด interactive ซึ่งเราสามารถดูหน้า console ของตัว Container ได้ดังนี้ครับ
หากเราต้องการเข้าควบคุมหน้า console เราสามารถทำได้ดังนี้ครับ
เราก็สามารถเข้าควบคุมหน้า console ได้ทันทีครับ และหากเราต้องการลบ Container ทิ้ง เราต้อง stop Container ตัวนั้นก่อนแล้วจึงลบด้วยคำสั่ง docker rm ดังนี้ครับ
5. การ Commit Container เพื่อสร้างเป็น Image
เมื่อเราสร้าง Container แล้ว หากเราต้องการบันทึกเป็น Image เราสามารถทำการ Commit Container ให้เป็น Image ได้ดังนี้ครับ
จากคำสั่งข้างต้นเป็นการ Commit Container ที่ชื่อ test ไปเป็น Image ชื่อ test และมี tag ชื่อ v1 ครับ และหากต้องการลบ Image ทิ้งเราสามารถทำได้ดังนี้ครับ
Image ที่ชื่อ test และมี tag เป็น v1 ก็จะลบออกไปจาก Host แล้วครับ บทความนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นนะครับ ยังมีคำสั่งที่เกี่ยวข้องอีกเยอะครับ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.docker.com/ ครับ